1.) หลักสูตรนักบริหารระดับสูงเพื่อการสร้างชาติ
1.1.) ความสำคัญ
ทุกประเทศในโลกสมัยใหม่ประกอบไปด้วย 3 ภาคส่วนคือ
หนึ่ง ภาครัฐ ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย กฎหมาย และการบังคับใช้ รวมทั้งการกำกับดูแลสังคมให้อยู่ในระบบระเบียบ และการจัดบริการสาธารณะที่จำเป็นต่อการดำรงชีพของประชาชน
สอง ภาคเอกชน ทำหน้าที่ผลิตสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองความจำเป็นและความต้องการด้านอุปโภคบริโภคของประชาชน แหล่งการสร้างงานสร้างรายได้ให้กับคนในสังคม สร้างนวัตกรรมที่ช่วยให้ชีวิตของผู้คนดีขึ้น และ
สาม ภาคประชาชนหรือภาคประชาสังคม ทำหน้าที่ช่วยเหลือบรรเทาความทุกข์ร้อนของประชาชน โดยเฉพาะในเรื่องที่ภาครัฐยังไม่อาจตอบสนองความต้องการของประชาชนได้เต็มที่ รวมทั้งการเสริมความเข้มแข็งของประชาชนโดยการช่วยพัฒนาทักษะ ความรู้ ความสามารถของประชาชน เช่น การฝึกอาชีพ การอบรมให้ความรู้เรื่องการป้องกันภัย ฯลฯ ตลอดจนการติดตามดูแลการทำงานของภาครัฐและภาคเอกชน ไม่ให้สร้างความเดือดร้อนหรือความไม่เป็นธรรมกับประชาชน
การทำให้ประเทศพัฒนาได้อย่างสมดุล จำเป็นที่ทั้ง 3 ภาคต้องมีความเข้มแข็ง และทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิผล ช่วยผสานจุดแข็งและเติมเต็มจุดอ่อนของกันและกัน โดยที่ เงื่อนไขสำคัญของการสร้างภาคส่วนที่เข้มแข็งคือ การสร้างภาวะการนำ ซึ่งรวมถึงการสร้างผู้นำที่มีขีดความสามารถสูงให้เกิดในทุกภาคส่วน โดยเฉพาะผู้นำที่เข้าใจความเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต สามารถริเริ่มสร้างสรรค์ บริหาร และพัฒนาองค์กรและประเทศให้เติบโตเข้มแข็งพร้อมรับความเปลี่ยนแปลงได้อย่างมั่นคง รวมทั้งสามารถทำงานร่วมกับภาคส่วนอื่นเพื่อช่วยพัฒนาองค์กรและประเทศให้เจริญก้าวหน้าเติบโตอย่างมั่นคง ยั่งยืน พร้อมก้าวสู่อนาคตอย่างมั่นใจ
ด้วยเหตุนี้ สถาบันการสร้างชาติ (Nation-Building Institute – NBI) จึงได้ร่วมกับภาคีจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน จัดหลักสูตร “นักบริหารระดับสูงเพื่อการสร้างชาติ (นสช.)” โดยมุ่งจัดการเรียนรู้ในรูปแบบที่ช่วยเสริมสร้างความเป็นผู้นำและภาวะการนำ ภาวะการบริหาร และภาวะคุณธรรมของผู้เรียน สร้างผู้เรียนให้เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change maker) ไปช่วยสร้างชาติในบทบาทที่เหมาะสมกับศักยภาพของแต่ละคน เพื่อพร้อมนำประเทศไทยก้าวสู่การเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศอารยะต่อไป
1.2) เอกลักษณ์ของหลักสูตร
หลักสูตรนักบริหารระดับสูงเพื่อการสร้างชาติมีลักษณะพิเศษและเฉพาะ คือ “ดี เด่น โดน ดัง ดาว” ดังต่อไปนี้
1.ดี คือ เนื้อหาดี เนื่องจากมีวิทยากรที่มีชื่อเสียงระดับประเทศและนานาชาติ ที่ได้รับเชิญมาสอนในหลักสูตรนี้เฉพาะ เป็นวิทยากรที่หาฟังที่อื่นได้ยาก เนื้อหามีความเฉพาะเจาะจงเชื่อมโยงกับการพัฒนาภาวะการนำ ภาวะการบริหาร และภาวะคุณธรรม ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี
2.เด่น คือ เครือข่ายเด่น สถาบันฯ มุ่งสร้างให้เกิดเครือข่ายชุมชนคนสร้างชาติ ประกอบด้วย คนเด่น คนดี คนดัง มาจากทุกภาคส่วนทั้งรัฐกิจ ธุรกิจ และประชากิจ ให้ร่วมจุดมุ่งหมายเดียวกันในการสร้างสรรค์พัฒนาชาติไทยให้ก้าวหน้า โดยให้การเสริมสร้างความสัมพันธ์ข้ามรุ่นให้เกิดขึ้นอย่างเหนียวแน่นทั้งปัจจุบันและอนาคต
3.โดน คือ กิจกรรมโดน สถาบันฯ ออกแบบและส่งเสริมให้กิจกรรมต่าง ๆ ที่ดำเนินการในหลักสูตรเป็นกิจกรรมที่โดนใจ ผู้เรียนได้ความสุขเพลินเจริญในภูมิรู้ ภูมิปัญญา ภูมิธรรม
4.ดัง คือ ดูงานดัง สถาบันฯ จัดการดูงานในหน่วยงานหรือประเทศที่มีชื่อเสียง มีผลงานโด่งดัง โดดเด่น เป็นที่ประจักษ์ ทั้งในและต่างประเทศ เช่น ประเทศ Finland ต้นแบบการศึกษาของโลก / ประเทศ Estonia ต้นแบบ Digital Economy / ประเทศ Sweden
ต้นแบบ IT startups / ประเทศ Latvia ต้นแบบ Telecommunications and Mobile Network / ประเทศ Lithuania ต้นแบบ Biotechnology / ประเทศ Cyprus ต้นแบบ Investment Magnet / ประเทศจอร์แดน ต้นแบบ Medical Tourism เป็นต้น
5.ดาว คือ โครงการดาว เป็นผลงานของนักศึกษาที่ร่วมกันสร้างโครงการที่มีประโยชน์ระดับติดดาว (Cap-Corner Stone Project) สามารถสร้างสรรค์ชาติได้ โดยเป็นโครงการที่นัยยะการสร้างความเปลี่ยนแปลงในระดับกว้าง สามารถขยายผลระดับประเทศ (scalable)
1.3) วัตถุประสงค์หลักสูตร
1.เพื่อพัฒนาผู้นำในภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน/ภาคสังคมที่มุ่งมั่นทำงานเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม ยึดมั่นในคุณธรรม มีจริยธรรม เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมเป็นสำคัญ
2.เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความคิด (Mindset) ที่เปิดกว้าง เข้าใจความเปลี่ยนแปลง มองอนาคต คิดเชิงรุก กล้าทำสิ่งใหม่
3.เพื่อเพิ่มเติมความรอบรู้ในศาสตร์สมัยใหม่ที่จำเป็นต่อการพัฒนาตนเอง การบริหารองค์กร และการสร้างประเทศให้พัฒนาสู่อนาคต
4.เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการนำ (Leadership) และการพัฒนาศักยภาพของตนเองให้เกิดประโยชน์สูงสุด
เพื่อให้เกิดกระบวนการกลุ่มของนักบริหารระดับสูงในภาคส่วนทั้ง 3 มาร่วมกันพิจารณาหาทางพัฒนาประเทศแบบบูรณาการทุกภาคส่วน ด้วยการบริหารงานสมัยใหม่ และกระตุ้นให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในประเทศไทยได้
1.4) คุณสมบัติผู้สมัคร
2.ข้าราชการการเมือง และข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่ง ดังต่อไปนี้
2.1 ข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้นขึ้นไป
2.2 ข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง 2.3 ข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญขึ้นไป (ตำแหน่งในข้อ 2.1-2.3 ในปัจุบันคือตำแหน่งเทียบเท่าผู้บริหารระดับ ซี 9 ขึ้นไปในระบบจำแนกตำแหน่งข้าราชการพลเรือนระบบเดิม)
3.กรณีข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งประเภทผู้อำนวยการระดับต้น (เทียบเท่าข้าราชการระดับ ซี 8 ตามระบบเดิม) ไม่น้อยกว่า 3 ปี หรือผู้ดำรงตำแหน่งอื่นที่ปฏิบัติราชการเช่นเดียวกับประเภทผู้อำนวยการมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี อาจพิจารณาได้เฉพาะกรณีพิเศษ
4.เจ้าหน้าที่หรือพนักงานของหน่วยงานของรัฐหรือองค์กรมหาชน หรือข้าราชการเจ้าหน้าที่หรือ พนักงานของหน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งดำรงตำแหน่งระดับ 9 ขึ้นไปหรือเทียบเท่า หรือพนักงาน รัฐวิสาหกิจที่ดำรงตำแหน่งระดับ 10 ขึ้นไปหรือเทียบเท่า หรือผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในตำแหน่งนายก สมาชิกสภา หรือปลัด
5.นายทหารหรือนายตำรวจที่มีชั้นยศ อัตราเงินเดือน พันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก หรือพันตำรวจเอกขึ้นไป ต้องดำรงตำแหน่งเป็นผู้บริหารหน่วยงานหรือองค์กร
6.ผู้บริหารจากมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน ข้าราชการพลเรือน หรือพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาซึ่งดำรงตำแหน่งอธิการบดี รองอธิการบดี คณบดี ผู้อำนวยการสำนัก
7.ผู้บริหารระดับสูงขององค์กรพัฒนาเอกชน มูลนิธิ สมาคม องค์กรไม่แสวงกำไร กิจการวิสาหกิจเพื่อสังคม
8.ผู้ประกอบกิจการ ผู้บริหารระดับสูงของกิจการ ภาคเอกชน และสื่อมวลชน มีอายุไม่ต่ำกว่า 40 ปี (นับจนถึงวันหมดเขตรับสมัคร) เป็นบุคลากรที่คณะกรรมการหลักสูตรมีมติเห็นสมควรให้เข้ารับการศึกษาอบรม
9.เป็นบุคลากรที่คณะกรรมการหลักสูตรมีมติเห็นสมควรให้เข้ารับการศึกษาอบรม
1.5) ขั้นตอนการสมัคร
หลักฐานประกอบการสมัคร
1.แบบฟอร์มใบสมัครที่ผู้สมัครกรอกข้อมูลครบถ้วน ชัดเจน
2. รูปถ่ายสีหน้าตรง ขนาด 2 นิ้ว จํานวน 3 รูป ถ่ายไว้ไม่เกิน 3 เดือน (ใช้ติดใบสมัคร 1 รูป โดยการติดห้ามใช้ลวดเย็บกระดาษเย็บรูป)
3. สําเนาบัตรประชาชน / สําเนาบัตรข้าราชการ / เจ้าหน้าที่ของรัฐ / รัฐวิสาหกิจ
4. สําเนาทะเบียนบ้าน
5. สําเนาปริญญาบัตร หรือสําเนาเอกสารที่สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (ทบวงมหาวิทยาลัย) หรือ ก.พ. รับรองว่าสําเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี หรือเทียบเท่า
6. หนังสือรับรองผู้สมัคร 3 ฉบับ โดย 2 ใน 3 ต้องเป็นผู้ที่เคยศึกษาหรือกำลังศึกษาในหลักสูตรของสถาบันการสร้างชาติ
7. กรณีเจ้าของกิจการ กรรมการ หุ้นส่วน โปรดแนบสำเนาหนังสือรับรองบริษัท หรือหนังสือจดทะเบียนบริษัท
8. กรณีผู้บริหารระดับสูงของเอกชน โปรดแนบโครงสร้างหน่วยงานและโครงสร้างการบริหาร การรับสมัคร 1. กรอกใบสมัครให้ครบถ้วน หรือสมัครทางระบบการสมัครออนไลน์ที่ http://nbi.in.th แล้วนำส่งหลักฐานประกอบการรับสมัครมาที่สถาบันการสร้างชาติ สถาบันการสร้างชาติ (Nation-Building Institute) เลขที่ 87/110 อาคารโมเดอร์นทาวน์ ชั้น 14 ถนนสุขุมวิท 63 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 2. ไม่รับสมัครโดยส่งเอกสารการสมัครทางโทรสาร (แฟกซ์) หรือ E-mail