Youth-Leadership Empowerment Summer Programme (NBI YES)

Youth-Leadership Empowerment Summer Programme (NBI YES)

โดย สถาบันการสร้างชาติ (Nation-Building Institute)

เกี่ยวกับสถาบันการสร้างชาติ

สถาบันการสร้างชาติ (Nation-Building Institute – NBI) จดทะเบียนเป็นมูลนิธิโดยใช้ชื่อ **“มูลนิธิสถาบันการสร้างชาติ”** เป็นองค์กรไม่แสวงกำไรและไม่ยุ่งเกี่ยวกับพรรคการเมือง โดยมี ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ เป็นประธานสถาบันฯ การทำงานของสถาบันฯ มุ่งสร้างภาคีความร่วมมือระหว่างภาครัฐกิจ ธุรกิจ ประชากิจ โดยจัดการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ ที่สร้างความเป็นผู้นำ นักบริหาร บนฐานคุณธรรม ให้แก่ผู้เรียนในหลักสูตรต่างๆ ที่สถาบันฯ จัดขึ้น และเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการทั้งที่สถาบันฯ ดำเนินการเองและร่วมสนับสนุน เพื่อให้เกิดความเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงช่วยสร้างชาติในบทบาทที่เหมาะสมกับศักยภาพของแต่ละคน เพื่อพร้อมนำประเทศไทยก้าวสู่การเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วต่อไป

สถาบันการสร้างชาติมีวิสัยทัศน์มุ่งสู่การเป็นสถาบันหลักของชาติในเรื่องการพัฒนาภาวะการนำ ภาวะการบริหาร และภาวะคุณธรรม ของบุคลากรทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ตลอดจนเยาวชนในระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษา ให้ร่วมกันช่วยทำงานสร้างสรรค์ชาติไทยสู่อารยะประเทศ ที่ก้าวหน้า เติบโตอย่างแข็งแรง ยั่งยืน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง เหมาะสมกับโลกในอนาคต

เกี่ยวกับโครงการ NBI YES

สถาบันการสร้างชาติเล็งเห็นถึงความสำคัญของการใช้เวลาช่วงปิดเรียนภาคฤดูร้อนของนักศึกษาอุดมศึกษาให้เกิดประโยชน์ จึงได้ริเริ่มหลักสูตร NBI Youth-Leadership Empowerment Summer Programme 2019 (NBI YES) เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาทุกสาขาวิชาจากสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศได้ร่วมกันเรียนรู้แลกเปลี่ยน เสริมสร้างวิสัยทัศน์ของตนเองให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลก ได้พัฒนาศักยภาพ และเรียนรู้ศาสตร์สมัยใหม่ที่ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของประเทศไทยให้เติบโตอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม ก้าวผ่านหล่มการพัฒนาที่เผชิญอยู่มานานนับทศวรรษ

นอกจากนี้ NBI YES ยังช่วยยกระดับศักยภาพความเป็นผู้นำของผู้เรียนผ่านกระบวนการกลุ่มและกิจกรรมต่างๆ ตลอดหลักสูตร ฝึกการบริหารจัดการผ่านโครงการริเริ่มสร้างสรรค์สังคม กระตุ้นปลุกจิตสำนึกของการเห็นแก่ส่วนรวมผ่านกิจกรรมตอบแทนสังคม เพื่อเสริมประสบการณ์ ยกระดับศักยภาพตนเอง และเตรียมตัวก่อนก้าวไปสู่ชีวิตการทำงานอย่างประสบความสำเร็จในอนาคต

ความร่วมมือระหว่าง NBI กับ ศูนย์อบรมคุณวุฒิวิชาชีพสากล เอส ซี เอ็ม (SCM-ITC) ซึ่งเป็นผู้แทนทางการ (Licensed Partner) ของ International Trade Centre (ITC) หน่วยงานร่วมขององค์การการค้าโลก (WTO) และ สหประชาชาติ (UNCTAD)

ศูนย์อบรมคุณวุฒิวิชาชีพสากล เอส ซี เอ็ม (SCM-ITC) เป็นผู้แทนของ International Trade Centre (ITC) ซึ่งเป็นหน่วยงานร่วมขององค์การการค้าโลก (WTO) และการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) โดยมุ่งยกระดับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มในการค้าระหว่างประเทศ

โดยทาง ITC มีโครงการเพื่อเสริมสมรรถนะของเยาวชน ให้รู้จักหลักการและเป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (UN Sustainable Development Goals) ตลอดจนการพัฒนาทักษะและสมรรถนะของเยาวชนในด้านสังคม สิ่งแวดล้อม การทำงาน และการเป็นผู้ประกอบการ

ทั้งนี้สถาบันการสร้างชาติ (NBI) ได้ร่วมมือกับ ศูนย์อบรมคุณวุฒิวิชาชีพสากล เอส ซี เอ็ม (SCM-ITC) ผู้แทนทางการของ ITC ประจำประเทศไทยในการนำเนื้อหาบางส่วนตามมาตรฐานหลักสูตรนานาชาติของ ITC มาถ่ายทอดให้ผู้เรียนหลักสูตร NBI YES โดยผู้สำเร็จการเรียนในหลักสูตรจะได้รับเกียรติบัตรจาก NBI และ SCM-ITC ด้วย

สิ่งที่ผู้เรียนจะได้รับจากหลักสูตร

1.พัฒนาภาวะผู้นำและการทำงานร่วมกับผู้อื่นเป็นทีม
2.พัฒนาทักษะทางการบริหารจัดการตนเองให้ใช้ชีวิตที่มีคุณค่าและมีความสุข
3.พัฒนาทักษะการบริหารงาน บริหารโครงการให้ประสบความสำเร็จ
4.รับการปลูกฝังคุณลักษณะชีวิตและสร้างจิตสำนึกของการเห็นแก่ส่วนรวมและความรับผิดชอบต่อสังคม 
5.สร้างพื้นฐานความรู้ความเข้าใจการพัฒนาประเทศอย่างรอบด้านอย่างมีปัญญารู้คิด ครบทุกมิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง สิ่งแวดล้อม ธุรกิจ เทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อเตรียมพร้อมสู่บทบาทของผู้นำรุ่นใหม่ในภาครัฐกิจ ธุรกิจ ประชากิจ
6.เป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายความร่วมมือผู้นำนักศึกษาคนรุ่นใหม่ให้ร่วมมือเชิงสร้างสรรค์ในการพัฒนาสังคมและประเทศ
7.เรียนรู้การเป็นผู้ประกอบการที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม (entrepreneurship with social responsibility mindset)
8.โอกาสได้รับคำแนะนำจากนักศึกษาศิษย์เก่าหลักสูตรนักบริหารระดับสูงเพื่อการสร้างชาติ (นสช.) ที่ได้อาสาตัวช่วยเป็นพี่เลี้ยง (mentor)
9.เรียนรู้เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (UNSDGs) เพื่อนำไปสู่เป็นพลเมืองสากล (global citizen)

ระยะเวลาหลักสูตร และสถานที่เรียน

• ช่วงปิดภาคฤดูร้อน **วันที่ 27 พ.ค. - 24 มิ.ย. 2565 **
• กิจกรรมในชั้นเรียน (ปฐมนิเทศ + เรียนวิชาการ + กิจกรรมสัมพันธ์ + ดูงาน + ปัจฉิมนิเทศ)
• กิจกรรมปฏิบัติการ (ผู้เรียนลงพื้นที่ปฏิบัติการโครงการ Cap-Corner Stone และจัดทำแผนธุรกิจเพื่อสังคม)
(หมายเหตุ ตารางกิจกรรมอาจมีการสลับตามความเหมาะสม)
• เรียนทุกวันระหว่างจันทร์ ถึง ศุกร์ เวลา 09.00 – 17.30 น.

ขอบเขตการเรียนรู้

1. ภาวะการนำ (Leadership) และภาวะการบริหาร (Management)
        การเสริมสร้างความเป็นผู้นำ การบริหาร การทำงานเป็นทีมผ่านกระบวนการกลุ่มทำกิจกรรมร่วมกัน โดยได้ฝึกฝนทักษะการสื่อสาร การวางแผน การบริหาร การรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง ฝึกการเป็นผู้นำและผู้ตามในกิจกรรมที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งเป็นการเสริมสร้างสัมพันธภาพที่แน่นแฟ้นระหว่างกลุ่มผู้เข้าอบรม โดยมีหัวข้อการเรียนรู้ เช่น
•    ผู้นำอย่างอารยะเพื่อการสร้างชาติ
•    ภาวะการนำ ภาวะการบริหาร ภาวะคุณธรรมเพื่อสร้างชาติ
•    การบริหารคน บริหารตน สู่ความสำเร็จ
•    AIMMI Model สร้างพลังขับเคลื่อนชีวิตสู่ความสำเร็จ
•    การจัดระบบชีวิตด้วย Model 3T (Time, Treasure, Talent)
•    คนดีสร้างได้
•    คนเก่งสร้างได้
•    คนกล้าสร้างได้
•    อารยะความสุข
•    Lab การวางแผนชีวิตเพื่อความสำเร็จ
•    การคิด 4 มิติ
•    ความรักกับการสร้างชาติ
•    โมเดลหุ้นส่วนชีวิตจิตเสมอกัน + Lab
•    ศึกษาดูงานบริษัทที่เป็นต้นแบบการสร้างสรรค์พัฒนาสังคมและประเทศ

2. ศาสตร์และศิลป์การสร้างชาติสู่ความอารยะระดับตนเอง ชุมชน และสังคม
        ผู้เรียนได้เรียนรู้เข้าใจทฤษฎี **“หลักหมุด”** (pivot theory) (หลักปรัชญา หลักคิด หลักวิชา หลักการ และหลักปฏิบัติ) อย่างรอบด้านทั้งในระดับปัจเจก (การใช้ศักยภาพตนเองอย่างเต็มขนาด) การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เทคโนโลยี ธุรกิจ โดยสร้างการคิดอย่างเป็นระบบเพื่อการริเริ่มและสร้างนวัตกรรมใหม่ อย่างสร้างสรรค์ และแนวทางปฏิบัติใหม่เพื่อการสร้างชาติสู่ความเป็นอารยะประเทศทัดเทียมประเทศที่พัฒนาแล้ว
        หัวข้อการเรียนรู้ เช่น
•    พลังนักศึกษาเพื่อสร้างชาติ
•    หลักหมุดการสร้างชาติสู่ความเป็นอารยะ
•    ยุทธศาสตร์สาธารณสุขและสุขภาพสู่อารยะชาติ
•    ยุทธศาสตร์ชีวภาพเพื่อการสร้างชาติสู่อารยะชาติ
•    ยุทธศาสตร์เกษตรเพื่อการสร้างชาติสู่อารยะชาติ
•    ยุทธศาสตร์การศึกษาและพัฒนาคนสู่อารยะชาติ
•    ยุทธศาสตร์ธุรกิจสู่อารยะชาติ
•    ยุทธศาสตร์ Tourism สู่อารยะชาติ
•    ยุทธศาสตร์ความมั่นคงและมิติระหว่างประเทศสู่อารยะชาติ
•    ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจสู่อารยะชาติ
•    ยุทธศาสตร์นวัตกรรม เทคโนโลยี สู่อารยะชาติ
•    ยุทธศาสตร์ประชากิจสู่อารยะชาติ
•    ศึกษาดูงานหน่วยงานภาครัฐหรือภาคสังคมที่เป็นต้นแบบการสร้างสรรค์พัฒนาสังคมและประเทศ

3. คุณธรรมและจิตสำนึกการเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม
        ผู้เข้าอบรมเห็นความสำคัญและปลูกจิตสำนึกการเห็นแก่ส่วนรวมในระดับความคิด (mindset) และการลงมือปฏิบัติ ผู้รียนได้ฝึกความคิดหลากมิติในการสร้างการวิเคราะห์และการประยุกต์ความรู้สู่โครงการภาคปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมผ่านโครงการ Cap-Corner Stone (CCS) ที่มุ่งให้เกิด Innovative Thinking ในการหาทางออกให้กับประเด็นการพัฒนาที่สำคัญของประเทศด้วยแนวคิดใหม่ (Ideation) และทำการลงมือทดลองปฏิบัติ (Implementation) โดยมีการวัดและประเมินผลกระทบจากโครงการ (Impact)
•    ยุทธศาสตร์คุณธรรมสู่อารยะชาติ
•    การสร้าง social enterprise ให้ประสบความสำเร็จ
•    การทำให้อุดมการณ์สร้างชาติยั่งยืนชั่วชีวิต
•    การออกแบบและบริหาร Cap-Corner Stone Project และ Social Enterprise Plan
•    ศึกษาดูงานหน่วยงานที่มีบทบาทการสร้างคุณธรรมและจิตสำนึกเพื่อส่วนรวม
•    Cap-Corner Stone Project and Social Enterprise Business Plan

4. การเป็นผู้ประกอบการที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม
    ในหลักสูตรนี้นำเนื้อหามาตรฐานนานาชาติของ ITC มาถ่ายทอดเป็นส่วนหนึ่งให้กับนักศึกษาผู้ร่วมโครงการ โดยเน้นการพัฒนาความรู้ความเข้าใจในหลักคิดเรื่องของการเป็นผู้ประกอบการ (entrepreneurship) ที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและส่วนรวม เตรียมผู้ร่วมหลักสูตรเข้าสู่การทำงานทั้งในฐานะของการเป็นเจ้าของกิจการเอง หรือการมีทักษะผู้ประกอบการสำหรับการทำงานในองค์กร โดยมีหัวข้อการเรียนรู้ เช่น
•    Business Model Design for Social impact
•    Start up in the Age of Disruption
•    Mindset of entrepreneurs
•    Design Thinking + Lab
•    Understanding UN and Sustainable Development Goals
•    Youth Entrepreneurs & Social Development  (Original)
•    Supply Chains Management for SMEs/Entrepreneurs
•    Business Objectives & Strategy
•    Understanding the Marketplace
•    Managing Business Operations
•    Managing Purchasing & Supply
•    Negotiation
•    Managing Supply Chain Partners
•    Managing Logistics
•    Managing Supply Chain Performance
•    Business Project Proposal

(หมายเหตุ หัวข้อการเรียนรู้และหน่วยงานที่จะไปศึกษาดูงานอาจมีการปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม)

 

รูปแบบการเรียนรู้

1. การเรียนในและนอกชั้นเรียน (In and Out of Classroom Learning)
เรียนรู้ผ่านรูปแบบการเรียนรู้ 26 วิธี (Model of 26 learning modes) เช่น บรรยายและอภิปรายในห้องเรียน โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากภาครัฐบาล รัฐวิสาหกิจ เอกชน และองค์กรทางสังคม มาบรรยายและถ่ายทอดประสบการณ์ให้กับผู้เรียนอย่างใกล้ชิด การอ่านหนังสือประกอบอย่างเหมาะสมในทุกวิชาเรียน

2. กิจกรรมสัมพันธ์
กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ในช่วงเวลาอาหารเย็นและเลี้ยงสังสรรค์ประจำสัปดาห์ เป็นโอกาสฝึกฝนการทำงานเป็นทีมผ่านการนำกิจกรรมสัมพันธ์ด้วย

3. การเรียนรู้นอกชั้นเรียนผ่านการดูงานในประเทศ
การเรียนรู้นอกชั้นเรียนเป็นองค์ประกอบสำคัญของหลักสูตรนี้ เพราะนอกจากจะช่วยเปิดโลกทัศน์ของผู้เรียนแล้ว ยังช่วยให้ผู้เรียนได้เชื่อมโยงสิ่งที่ได้เรียนรู้ในชั้นเรียนกับการปฏิบัติจริงด้วย โดยจัดการศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน ภาคสังคม หรือหน่วยงานระหว่างประเทศที่ตั้งอยู่ภายในประเทศ ที่มีตัวอย่างการทำงานที่ก่อให้เกิดผลกระทบความเปลี่ยนแปลง (Impact) ในทางบวกกับประเทศ เพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเรียนรู้จากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิในหน่วยงานที่ไปเยี่ยม ได้รับแรงบันดาลใจและสัมผัสประสบการณ์จริง โดยผู้เรียนจะได้สังเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาดูงานกับความรู้จากการเรียนภาควิชาการในชั้นเรียน

4. กิจกรรมภาคปฏิบัติ
เรียนรู้ผ่านการทำกิจกรรมทั้งในและนอกสถานที่ รวมทั้งมีการฝึกการนำเสนอผลงานในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ Lab Model หุ้นส่วนชีวิตจิตเสมอกัน / Lab การวางแผนชีวิตเพื่อความสำเร็จในอุดมการณ์สร้างชาติ / Lab การจัดระบบชีวิตด้วย โมเดล 3T / การพูดในที่สาธารณะ / การนำเสนอผ่านสื่อสังคมสมัยใหม่ ฯลฯ

5. การจัดทำโครงการ Cap-Corner Stone + Social Enterprise Business Plan
ผู้เรียนแต่ละกลุ่มจะร่วมกันพัฒนาข้อเสนอแผนธุรกิจเพื่อสังคม (social enterprise business plan) โดยมีการทดสอบสมมติฐาน (hypothesis testing) ของแนวคิดที่ผู้เรียนคิดว่าจะสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกได้ตามวัตถุประสงค์ โครงการมีจุดมุ่งหมายช่วยส่งเสริมการพัฒนาหรือการสร้างความเปลี่ยนแปลงเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างเจาะจง เป็นเรื่องที่มีผลเพื่อส่วนรวม วัตถุประสงค์สำคัญคือการที่ผู้เรียนได้นำสิ่งที่เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้จริง แสดงให้เห็นการเชื่อมโยงและการประยุกต์ใช้สิ่งที่ได้เรียนรู้เอาไปปฏิบัติจริง และวัดผลกระทบเชิงสัมฤทธิผลได้ โดยเป็นการดำเนินการตามกระบวนการโมเดล 3I Innovation Model (Ideation-Implementation-Impact) ทั้งนี้ ผู้เรียนแต่ละกลุ่มจะได้รับการ mentor จากผู้มีประสบการณ์ทางปฏิบัติ มากประสบการณ์จากศิษย์เก่าของสถาบันการสร้างชาติ

6. การนำเสนอผลงาน
กำหนดการนำเสนอผลงาน โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิมาช่วยให้ความเห็น คำแนะนำกับผู้เรียนแต่ละกลุ่มในวันนำเสนอผลงานด้วย พร้อมคัดเลือกและมอบรางวัลผลงานวิชาการดีเด่นประจำรุ่น

 

เงื่อนไขการสำเร็จการศึกษาและการรับประกาศนียบัตร

ผู้ที่จะสำเร็จการศึกษาได้จะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
1.ต้องเข้าเรียนในชั้นเรียนไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทั้งหมด
2.ต้องมีส่วนร่วมในกิจกรรมทุกกิจกรรมตลอดหลักสูตร
3.ต้องได้รับการประเมิน “ผ่าน” ในการจัดทำเอกสารรายงานต่างๆ และการนำเสนอผลงานกลุ่ม
4.ต้องไม่ดำเนินการใดๆ ที่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียชื่อเสียงของสถาบันการสร้างชาติ

ผู้ที่สำเร็จการศึกษาจะได้ประกาศนียบัตรจากสถาบันการสร้างชาติ และ SMC-ITC ผู้แทนทางการของ International Trade Centre (ITC) เป็นหน่วยงานร่วมขององค์การสหประชาชาติ การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) และองค์การการค้าโลก (WTO)

 

 

สิทธิพิเศษที่ผู้เรียนจะได้รับหลังสำเร็จการศึกษา

หลังสำเร็จการเรียนรู้จากหลักสูตรแล้ว ผู้เรียนมีสิทธิสมัครเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสมาคมศิษย์เก่าสถาบันการสร้างชาติ (NBI Alumni) ซึ่งจะได้รับสิทธิพิเศษดังนี้
1.สิทธิพิเศษในการได้รับพิจารณาอันดับต้น (Priority) หากต้องการเข้าเรียนในหลักสูตรอื่นของสถาบันการสร้างชาติ (NBI)
2.สิทธิสมัครเป็นสมาชิกสมาคมศิษย์เก่าสถาบันการสร้างชาติ
3.สิทธิเข้าร่วมกิจกรรมพิเศษที่ NBI จัดขึ้น เช่น Dinner Talk, Special Lecture ของผู้เชี่ยวชาญระดับนานาชาติจากต่างประเทศ ส่วนลดค่าบัตรเข้าร่วมงาน งานกอล์ฟการกุศล ฯลฯ
4.สิทธิเข้าร่วมกิจกรรมสานสัมพันธ์เพื่อการพัฒนาประเทศของนักศึกษารุ่นต่าง ๆ ของสถาบัน เพื่อช่วยขยายเครือข่ายชุมชนคนสร้างชาติผู้มีความตั้งใจพัฒนาประเทศ
5.สิทธิเข้าร่วมกิจกรรม NBI YES Reunion
6.สิทธิลงทะเบียนเข้าร่วมประชุม International Conference on Nation-Building ในประเทศและต่างประเทศ
7.สิทธิเข้าร่วมกิจกรรมศึกษาดูงานในประเทศและต่างประเทศที่จัดโดยสถาบันการสร้างชาติ
8.สิทธิได้รับคำแนะนำการสมัครเรียนระดับบัณฑิตศึกษาในมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก เช่น Harvard University, Oxford University, Cambridge University
9.สิทธิการสมัครขอรับทุนการศึกษาเพื่อศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษาในสถาบันการศึกษาระดับโลก

การสมัคร

คุณสมบัติผู้สมัคร

•  เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีในประเทศหรือต่างประเทศทุกสาขาวิชา
•  ไม่ติดภาระการฝึกงานหรือการอบรมในหลักสูตรอื่นในช่วงที่ซ้อนกับ NBI YES

เอกสารประกอบการสมัคร

•    รูปถ่ายสีหน้าตรงขนาด 1 หรือ 2 นิ้ว (ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน)
•    สำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาหนังสือเดินทาง (passport)
•    สำเนาบัตรประจำตัวนักศึกษา
•    ใบรับรองผลการศึกษา (Transcript)  ตลอดหลักสูตรการศึกษาจนถึงปัจจุบัน

ขั้นตอนการสมัคร

• กรอกใบสมัครที่ http://nbi.in.th/nbi-yes/
• ส่งเอกสารประกอบการสมัคร ที่ [info@nbi.in.th]
• ผู้ที่ผ่านการพิจารณาขั้นต้น รอรับการสัมภาษณ์จากสถาบันการสร้างชาติ
• ประกาศผลการรับสมัครรายบุคคลตามระบบ Rolling Admission สมัครก่อนได้สิทธิก่อน
• ผู้ผ่านการคัดเลือกชำระเงินค่าลงทะเบียนในอัตรา 12,900 บาท (รวม VAT แล้ว) รวมค่ากิจกรรมปฐมนิเทศต่างจังหวัด 3 วัน 2 คืนแล้ว

**หมายเหตุ**
•    ทางสถาบันการสร้างชาติขอสงวนสิทธิ์พิจารณาเฉพาะผู้ส่งเอกสารครบถ้วนเท่านั้น
•    หากผู้สมัครไม่ยืนยันการลงทะเบียนภายในเวลาที่กำหนด จะถือว่าท่านสละสิทธิ์
•    หลักสูตรของสงวนสิทธิ์ไม่สามารถคืนเงินค่าลงทะเบียนทุกกรณี
•    ผู้ผ่านการคัดเลือกรับผิดชอบค่าใช้จ่ายอื่นๆ นอกเหนือจากค่าลงทะเบียน เช่น ค่าที่พัก ค่าเดินทาง ค่าอาหารนอกเหนือจากที่หลักสูตรจัดเตรียมไว้ให้ ค่าร่วมกิจกรรมของกลุ่มและกิจกรรมของรุ่น ค่าใช้จ่ายส่วนตัว เป็นต้น

ทุนการศึกษา

•    ทางสถาบันการสร้างชาติได้จัดสรรทุนการศึกษาบางส่วนให้กับผู้สมัครที่มีความจำกัดทางการเงิน
•    ผู้ประสงค์ของทุนการศึกษาขอให้ติดต่อขอเอกสารการขอทุนจากสถาบันการสร้างชาติโดยตรง

ติดต่อหลักสูตร NBI YES

โทร. 080 206 2604, 081 409 2454                                                
Email : nbiyes19@gmail.com

 

 

 

กรอกรายละเอียดเพื่อสมัครหลักสูตร